วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ระบบหมุนเวียนสาร (4)

:: ระบบน้ำเหลือง ::   lymph (ลิมฟ)
 สารต่างๆในเซลล์จะถูกลำเลียงกลับเข้าสู่หลอดเลือดด้วยระบบน้ำเหลืองโดยสัมพันธ์กับการไหลของเลือดในหลอดเลือดฝอย ระบบน้ำเหลืองมีส่วนประกอบ ดังนี้
1. อวัยวะน้ำเหลือง เป็นศูนย์กลางผลิตเซลล์ต่อต้านสิ่งแปลกปลอม ได้แก่ ต่อมน้ำเหลือง ต่อมทอนซิล ม้าม และต่อมไทมัส  มีหน้าที่ผลิตสารต่อต้านเชื้อโรค และสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย
2. ท่อน้ำเหลือง (lymph vessel) มีหน้าที่นำน้ำเหลืองเข้าสู่หลอดเลือดดำในระบบหมุนเวียนของเลือด
3. น้ำเหลือง (lymph) มีลักษณะเป็นของเหลวใสอาบอยู่รอบๆ เซลล์ สามารถซึมผ่านเข้าออกผนังหลอดเลือดฝอยได้  มีหน้าที่เป็นตัวกลางแลกเปลี่ยนสารระหว่างหลอดเลือดฝอยกับเซลล์ได้
 

:: ระบบภูมิคุ้มกัน ::
 ร่างกายของคนเราที่มีสภาพภูมิคู้มกันสิ่งแปลกปลอมที่อาจก่อให้เกิดโรคได้ร่างกายซึ่งมีกลไกกำจัดสิ่งแปลกปลอมตามธรรมชาติ ดังนี้
  1. เหงื่อเป็นสารที่ร่างกายขับจากต่อมเหงื่อออกมาที่บริเวณผิวหนังทั่วร่างกายสามารถป้องกันการเจริญเติบโต
    ของแบคทีเรีย และป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนัง
  2. น้ำตาและน้ำลาย ช่วยทำลายเชื้อแบคทีเรียบางชนิดได้
  3. ขนจมูกและน้ำเมือกในจมูก ช่วยป้องกันฝุ่นละอองและเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายทางลมหายใจ
  4. เซลล์เม็ดเลือดขาวที่อยู่ในเซลล์ร่างกายและท่อน้ำเหลือง สร้างสารต่อต้านเชื้อโรคที่เรียกว่า “ แอนติบอดี
    (Antibody)” เพื่อทำลายเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย
ระบบภูมิคุ้มกันโรคที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อต่อต้านเฉพาะโรค ที่เข้าสู่ร่างกายนั้นสร้างได้ 2 ลักษณะ ดังนี้
1. ภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างขึ้นเอง เป็นวิธีการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันจากสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรค เช่น การฉีดวัคซีนคุ้มกันโรคอหิวาตกโรค เป็นการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดี เพื่อทำลายเชื้ออหิวาตกโรคที่จะเข้าสู่ร่างกาย เป็นต้น
2. ภูมิคุ้มกันที่รับมา เป็นวิธีการให้แอนติบอดีแก่ร่างกายโดยตรง เพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันทันที เ ช่น การฉีดเซรุ่มแก้พิษงู  ใช้ฉีดเมื่อถูกงูกัด จะเกิดภูมิคุ้มกันทันที

ระบบหมุนเวียนสาร (3)

::หลอดเลือด ::
 หลอดเลือด ทำหน้าที่ลำเลียงเลือดจากหัวใจไปยังอวัยวะส่วนต่างๆ ทั่วร่างกาย และเป็นเส้นทางให้เลือดจากอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกายกลับเข้าสู่หัวใจ    
 

 
หลอดเลือดในร่างกายมี 3 ชนิด
     1. หลอดเลือดแดง (artery) เป็นหลอดเลือดที่นำเลือดดีจากหัวใจไปสู่เซลล์ต่างๆ ของร่างกายหลอดเลือดแดงมี ผนังหนาแข็งแรง และไม่มีลิ้นกั้นภายใน เลือดที่อยู่ในหลอดเลือดแดงเป็นเลือดที่มีปริมาณแก๊สออกซิเจนสูง  หรือเรียกว่า “ เลือดแดง ”ยกเว้นหลอดเลือดแดงที่นำเลือดออกจากหัวใจไปยังปอดภายในเป็นเลือดที่มีปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์มากหรือเรียกว่า “ เลือดดำ ”
     2. หลอดเลือดดำ (vein) เป็นหลอดเลือดที่นำเลือดดำจากส่วนต่างๆ ของร่างกายเข้าสู่หัวใจหลอดเลือดดมีผนังบางกว่าหลอดเลือดแดง มีลิ้นกั้นภายในเพื่อป้องกันเลือดไหลย้อนกลับ เลือดที่ไหลอยู่ภายในหลอดเลือดจะเป็นเลือดที่มีปริมาณแก๊สออกซิเจนต่ำ ยกเว้นหลอดเลือดดำที่นำเลือดจากปอดเข้าสู่หัวใจ จะเป็นเลือดแดง
     3. หลอดเลือดฝอย (capillary) เป็นหลอดเลือดที่เชื่อมต่อระหว่าวหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำสานเป็นร่างแหแทรกอยู่ตามเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย มีขนาดเล็กและละเอียดเป็นฝอยและมีผนังบางมากเป็นแหล่งที่มีการแลกเปลี่ยนแก๊สและสารต่างๆ ระหว่างเลือดกับเซลล์ 

::ความดันเลือด ( blood pressure)::
 ความดันเลือด ( blood pressure)หมายถึงความดันในหลอดเลือดแดงเป็นส่วนใหญ่เกิดจากบีบตัวของหัวใจที่ดันเลือดให้ไหลไปตามหลอดเลือดความดันของหลอดเลือดแดงที่อยู่ใกล้หัวใจจะมีความดันสูงกว่าหลอดเลือดแดงที่อยู่ไกลหัวใจ ส่วนในหลอดเลือดดำจะมีความดันต่ำกว่าหลอดเลือดแดงเสมอความดันเลือดมีหน่วยวัดเป็นมิลลิเมตรปรอท (mmHg) เป็นตัวเลข 2 ค่าคือ
  • ค่าความดันเลือดขณะหัวใจบีบตัว และค่าความดันเลือดขณะหัวใจคลายตัว เช่น 120/80 มิลลิเมตรปรอท
    ค่าตัวเลข 120 แสดงค่าความดันเลือดขณะหัวใจบีบตัวให้เลือดออกจากหัวใจ
    เรียกว่า ความดันระยะหัวใจบีบตัว (Systolic Pressure)
  • ส่วนตัวเลข 80 แสดงความดันเลือดขณะหัวใจคลายตัว เพื่อรับเลือดเข้าสู่หัวใจ
    เรียกว่า ความดันระยะหัวใจคลายตัว (Diastolic Pressure)
     เครื่องมือวัดความดันเลือดเรียกว่า “ มาตรความดันเลือด จะใช้คู่กับสเตตโตสโคป (stetoscope)'' โดยจะวัดความดันที่หลอดเลือดแดง
     ปกติความดันเลือดสูงสุดขณะหัวใจบีบตัวให้เลือดออกจากหัวใจมีค่า 100 + อายุ และความดันเลือดขณะหัวใจรับเลือดไม่ควรเกิน 90 มิลลิเมตรปรอท ถ้าเกินจะเป็นโรคความดันเลือดสูง ซึ่งมีสาเหตุหลายประการ เช่น
หลอดเลือดตีบตัน คอเลสเตอรอลในเลือดสูง โกรธง่ายหรือเครียดอยู่เป็นประจำ พบมากในผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีจิตใจอยู่ในสภาวะเครียด นอกจากนี้ยังเกิดจากอารมณ์โกรธทำให้ร่างกายผลิตสารชนิดหนึ่งออกมา ซึ่งสารนี้จะมีผลต่อการบีบตัวของหัวใจโดยตรง
     ชีพจร หมายถึง การหดตัวและการคลายตัวของหลอดเลือดแดง ซึ่งตรงกับจังหวะการเต้นของหัวใจคนปกติหัวใจเต้นเฉลี่ยประมาณ 72 ครั้งต่อนาที การเต้นของชีพจรแต่ละคนจะแตกต่างกันปกติอัตราการเต้นของชีพจรในเพศชายจะสูงกว่าเพศหญิง
ปัจจัยที่มีผลต่อความดันเลือด มีดังนี้
  1. อายุ ผู้สูงอายุมีความดันเลือดสูงกว่าเด็ก
  2. เพศ เพศชายมีความดันเลือดสูงกว่าเพศหญิง ยกเว้นเพศหญิงที่ใกล้หมดประจำเดือนจะมีความดันเลือดค่อนข้างสูง
  3. ขนาดของร่างกาย คนที่มีร่างกายขนาดใหญ่มักมีความดันเลือดสูงกว่าคนที่มีร่างกายขนาดเล็ก
  4. อารมณ์ ผู้ที่มีอารมณ์เครียด วิตกกังวล โกรธหรือตกใจง่ายทำให้ความดันเลือดสูงกว่าคนที่อารมณ์ปกติ
  5. คนทำงานหนักและการออกกำลังกาย ทำให้มีความดันเลือดสูง