วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ระบบขับถ่าย

ของเสีย
 หมายถึง สารที่เกิดจากกระบวนการเมแทบอริซึม (metabolism) ภายในร่างกายของสิ่งมีชีวิตที่ ไม่มีประโยชน์ต่อ
ร่างกายเช่น น้ำ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ยูเรีย เป็นต้น นอกจากนี้สารที่มีประโยชน์ ์ปริมาณมากเกินไปร่างกายก็จะกำจัดออก

เมแทบอริซึม (metabolism)  
  หมายถึงการบวนการหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีที่เกิดขึ้นภายในร่างกายของสิ่งมีชีวิต
การกำจัดของเสียในร่างกายเกิดขึ้นได้หลายทาง เช่น ทางไต ทางผิวหนัง ทางปอด  เป็นต้น 
:: การกำจัดของเสียทางไต ::
 ไต (Kidney) ทำหน้าที่กำจัดของเสียในรูปของน้ำปัสสาวะ มี 1 คู่ รูปร่างคล้ายเมล็ดถั่วดำ อยู่ในช่องท้องสองข้างของ
กระดูกสันหลังระดับเอว ถ้าผ่าไตตามยาวจะพบว่าไตประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ชั้น คือเปลือกไตชั้นนอกกับเปลือกไตชั้นในมีขนาด
ยาวประมาณ 10 เซนติเมตร กว้าง 6 เซนติเมตร หนา 3 เซนติเมตร บริเวณตรงกลางของไตมีส่วนเว้าเป็นกรวยไต มีหลอดไต
ต่อไปยังกระเพาะปัสสาวะ ไตแต่ละข้างประกอบด้วยหน่วยไต (nephron) นับล้านหน่วยเป็นท่อที่ขดไปมาโดยมีปลายท่อ
ข้างหนึ่งต้น เรียกปลายท่อที่ตันนี้ว่า “ โบว์แมนส์แคปซูล (Bowman s capsule)” ซึ่งมีลักษณะเป็นแอ่งคล้ายถ้วยภายใน
แอ่งจะมีกลุ่มเลือดฝอยพันกันเป็นกระจุกเรียกว่า “ โกลเมอรูลัส (glomerulus)” ซึ่งทำหน้าที่กรองของเสียออกจากเลือดที่
ไหลผ่านไต


     ที่บริเวณท่อของหน่วยไตจะมีการดูดซึมสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น แร่ธาตุ น้ำตาลกลูโคส กรดอะมิโนรวมทั้งน้ำ
กลับคืนสู่หลอดเลือดฝอยและเข้าสู่หลอดเลือดดำ ส่วนของเสียอื่นๆ ที่เหลือคือ น้ำปัสสาวะ จะถูกส่งมาตามหลอดไตเข้าสู่
กระเพาะปัสสาวะ ซึ่งมีความจุประมาณ 500 ลูกบาศก์เซนติเมตร แต่กระเพาะปัสสาวะสามารถที่จะหดตัวขับน้ำปัสสาวะ
ออกมาได เมื่อมีปัสสาวะมาคลั่งอยู่ประมาณ 250 ลูกบาศก์เซนติเมตร ซึ่งในวันหนึ่งๆ ร่างกายจะขับน้ำปัสสาวะออกมา
ประมาณ 1 – 1.5 ลิตร
       น้ำปัสสาวะประกอบด้วยสารต่างๆ ดังนี้ คือ น้ำ 95% โซดียม 0.35% โพแทสเซียม 0.15% คลอรีน 0.6% ฟอสเฟต 0.15% แอมโมเนีย 0.04% ยูเรีย 2.0% กรดยูริก 0.05% และครีเอทินิน 0.75%
       น้ำปัสสาวะจะประกอบไปด้วยน้ำและยูเรียเป็นส่วนใหญ่ ส่วนแร่ธาตุมีอยู่เล็กน้อย ถ้ามีการตกตะกอนของแร่ธาตุไปอุดตัน
ทางเดินท่อปัสสาวะ จะทำให้ปัสสาวะลำบาก เรียกลักษณะอาการอย่างนี้ว่า “ โรคนิ่ว ”
       เมื่อไตผิดปกติจะทำให้สารบางชนิดปนออกมากับน้ำปัสสาวะ เช่น เม็ดเลือดแดง กรดอะมิโน น้ำตาลกลูโคส เป็นต้น
ปัจจุบันแพทย์มีการใช้ไตเทียมหรืออาจจะใช้การปลูกไตให้กับผู้ป่วยที่ไตไม่สามารถทำงานได้
ไตเทียม เป็นเครื่องมือที่อยู่ภายนอกร่างกาย ส่วนการปลูกไตเป็นการนำไตของผู้อื่นมาใส่ให้กับผู้ป่วย 
 :: การกำจัดของเสียทางผิวหนัง ::
 


เหงื่อ (sweat) ประกอบด้วยน้ำเป็นส่วนใหญ่ และมีสารอื่นๆ บ้างชนิดปนอยู่ด้วย เช่น เกลือโซเดียมคลอไรด์ ยูเรีย เป็นต้น
เหงื่อจะถูกขับออกจากร่างกายทางผิวหนังโดยผ่านทาวต่อมเหงื่อซึ่งมีอยู่ทั่วร่างกายใต้ผิวหนัง

ต่อมเหงื่อของคนเราแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ
1. ต่อมเหงื่อขนาดเล็ก มีอยู่ที่ผิวหนังทั่วทุกแห่งของร่างกาย ยกเว้นที่ริมฝีปากและที่อวัยวะสืบพันธุ์บางส่วน ต่อมเหงื่อเหล่านี้
ติดต่อกับท่อขับถ่ายซึ่งเปิดออกที่ผิวหนังชั้นนอกสุด ต่อมเหงื่อขนาดเล็กนี้สร้างเหงื่อแล้วขับถ่ายออกมาตลอดเวลา แต่เนื่องจากมีการระเหยไปตลอดเวลาเช่นกัน ดังนั้น จึงมักสังเกตไม่ค่อยได้ แต่เมื่ออุณหภูมิภายนอกร่างกายสูงขึ้นหรือขณะออกกำลังกาย
ปริมาณเหงื่อที่ขับถ่ายออกมาจะเพิ่มขึ้นจนสังเกตเห็นได้ ที่อุณหภูมิ 32 องศาเซลเซียส จะมีการขับเหงื่อออกมาเห็นได้ชัดเจนเหงื่อจากต่อมเหงื่อขนาดเล็กเหล่านี้ประกอบด้วยน้ำร้อยละ 99 สารอื่นๆ ร้อยละ 1 ซึ่งได้แก่ เกลือโซเดียมคลอไรด์และสารอินทรีย์พวกยูเรีย นอกนั้น เป็นสารอื่นอีกเล็กน้อยเช่น แอมโมเนีย กรดอะมิโน น้ำตาล กรดแลกติก


2. ต่อมเหงื่อขนาดใหญ่ ไม่ได้มีอยู่ทั่วร่างกาย พบได้เฉพาะบางแห่ง ได้แก่ รักแร้ รอบหัวนม รอบสะดือ ช่องหูส่วนนอกจมูก อวัยวะสืบพันธุ์บางส่วน ต่อมเหล่านี้มีท่อขับถ่ายใหญ่กว่าชนิดแรก และจะเปิดที่รูขนใต้ผิวหนัง ปกติจะไม่เปิดโดยตรงที่ผิวหนังชั้นนอกสุด ต่อมชนิดนี้จะทำงานตอบสนองต่อการกระตุ้นทางจิตใจ สารที่ขับถ่ายจากต่อมชนิดนี้มักมีกลิ่นซึ่งก็คือกลิ่นตัว นั่นเอง

โครงสร้างภายในต่อมเหงื่อจะมีท่อขดอยู่เป็นกลุ่มและมีหลอดเลือดฝอยมาหล่อเลี้ยงโดยรอบหลอดเลือดฝอยเหล่านนี้จะลำเลียงของเสียมายังต่อมเหงื่อเมื่อของเสียมาถึงบริเวณต่อเหงื่อก็จะแพร่ออกจากหลอดเลือดฝอยเข้าสู่ท่อในต่อมเหงื่อ จากนั้นของเสียซึ่งก็คือ เหงื่อ จะถูกลำเลียงไปตามท่อจนถึงผิวหนังชั้นบนสุด ซึ่งมีปากท่อเปิดอยู่ หรือที่เรียกว่า รูเหงื่อ  

ผิวหนังนอกจากจะทำหน้าที่กำจัดของสียในรูปของเหงื่อแล้วยังทำหน้าที่ช่วยระบายความร้อนออกจากร่างกายด้วยโดยความร้อน ที่ขับออกจากร่างกายทางผิวหนังมีประมาณร้อยละ 87.5 ของความร้อนทั้งหมด

 :: การกำจัดของเสียทางปอด :: 
 ของเสียที่ถูกกำจัดออกนอกร่างกายทางปอด ได้แก่ น้ำและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเกิดขึ้นจากกระบวนการหายใจของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย
ขั้นตอนในการกำจัดของเสียออกจากร่างกายทางปอด มีดังนี้




1. น้ำและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นแพร่ออกจากเซลล์เข้าสู่หลอดเลือด โดยจะละลายปนอยู่ในเลือด
2. เลือดที่มีของเสียละลายปนอยู่จะถูกลำเลียงส่งไปยังปอด โดยการลำเลียงผ่านหัวใจเพื่อส่งต่อไปแลกเปลี่ยนแก๊สที่ปอด
3. เลือดที่มีของเสียละลายปนอยู่เมื่อไปถึงปอด ของเสียต่างๆที่สะสมอยู่ในเลือดจะแพร่ผ่านผนังของหลอดเลือดเข้าสู่ถุงลมของปอดแล้วลำเลียงไปตามหลอดลม เพื่อกำจัดออกจากร่างกาย ทางจมูกพร้อมกับลมหายใจออก



        

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น